เปิดประวัติเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ราชาแห่งการเทคโอเวอร์ของเมืองไทย
เจ้าสัวเจริญ หรือนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ฉายาเจ้าพ่อน้ำเมา-ราชาเทกโอเวอร์เมืองไทย เหตุใดจึงได้ฉายานี้มา มาดูประวัติและกิจการของมหาเศรษฐีคนนี้กัน

จากข่าวใหญ่สะเทือนวงการธุรกิจไทยเมื่อวันที่ 8 กุมภานี้ ที่ได้วิจารณ์กันอย่างกว้างขาง หลังจากที่เจ้าสัวเจริญ แห่งทีซีซี และไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้บรรลุข้อตกลง สัญญาเทคโอเวอร์ห้างสรรพสินค้าดังบิ๊กซี จาก คาสิโนกรุ๊ป ด้วยมูลค่ากว่า 122,000 ล้านบาทสำเร็จ ทำให้หลายคนอยากรู้ว่าเขารวยมาจากไหนมีประวัติความเป็นมาอย่างไรมากขึ้น มาดูกันเลย

         คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี เกิดเมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม 2587 นามสกุลเดิมคือ ศรีสมบูรณานนท์ ชื่อจีน คือ โซวเคียกเม้ง หรือเรียกว่า เม้ง เป็นคนจีนแต้จิ๋ว เป็นบุตรคนที่ 2 ของ นายติ่งเลี้ยง แซ่โซว และนาง นางเซียงเต็ง แซ่แต้ มีพี่น้องทั้งหมด 11 คน เป็นชาย 6 คน หญิง 5 คน

        ครอบครัวของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี มีอาชีพขายหอยทอดอยู่ในซอยติดกับโรงเรียนเผยอิง ครอบครัวอบรมแบบคนจีนสมัยก่อน แต่ไม่บังคับว่าจะต้องไปเรียนทางไหน มีหลายแนว คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี เรียนจบเพียงชั้น ป. ๔ ที่โรงเรียนเผยอิง น้องๆหลายคนเรียนที่โรงเรียนโกศลวิทยา คุณเจริญ เป็นคนมีหัวการค้าตอนเด็กๆ เอาของมาขายในโรงเรียนเป็นประจำ 

        เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งเป็นที่เอ็นดูของผู้ที่รู้จักโดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่ อายุได้ 11 ปี เลิกเรียนหนังสือ ไปรับจ้างเข็นรถสินค้า และขายของตามฟุตบาท

โอกาสดีมาถึงในปี 2504 ได้เป็นลูกจ้างของชาวจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยคนหนึ่ง ในบริษัทย่งฮะเส็ง และห้างหุ้นส่วนจำกัด แพนอินเตอร์ ที่จัดส่งสินค้าให้โรงงานสุราบางยี่ขั้น และเพียงปีเดียวเขาได้เป็น ”ซัพพลายเออร์” ให้โรงงานสุราบางยี่ขันเอง นำมาสู่การรู้จักกับนายจุล กาญจนลักษณ์” ผู้เชี่ยวชาญการปรุงรสสุรา

การเป็นคนมีสัมมาคารวะและความอ่อนน้อมถ่อมตนของคุณเจริญต้องใจผู้คนที่ทำงานรอบข้างโดยเฉพาะคุณเถลิง เหล่าจินดา จนกลายเป็นคนสนิทใกล้ชิดที่คุณเถลิงไว้วางใจที่สุดคนหนึ่ง  จนกลายเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจในเวลาต่อมาระหว่างนั้น   คุณเจริญพบรักและแต่งงานกับหญิงสาวนางหนึ่ง คือ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ผู้เป็นบุตรีของเจ้าสัว กึ้งจู แซ่จิว ผู้กว้างขวางในวงธุรกิจการเงิน อดีดรองประธานกรรมการธนาคารมหานคร และเพื่อนสนิทร่วมชั้นเรียนของเจ้าสัว ชิน โสภณพนิช ผู้เป็นประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ ที่เกื้อกูลด้านการเงินให้กับธุรกิจของคุณเจริญ และเป็นสายสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองตระกูลต่อมาเป็นลำดับ

  • ปี 2518 บริษัทธารน้ำทิพย์ ผู้ผลิต “ธาราวิสกี้” ของ “พงส์ สารสิน” และ “ประสิทธิ์ ณรงค์เดช” ประสบภาวะขาดทุนและประกาศขาย กลุ่มเจ้าสัวเถลิงและ “เจริญ” จึงเข้าซื้อกิจการ ซึ่งก็คือบริษัทแสงโสมในปัจจุบัน
  • ปี 2529 “เจริญ” ที่ได้กลายเป็น “เจ้าสัว” ไปแล้ว ได้เข้าสู่ธุรกิจธนาคาร และการเงิน ด้วยความช่วยเหลือของ “พ่อตา” เข้าไปซื้อหุ้นในธนาคารมหานคร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจ ซื้อหุ้นในบริษัทอาคเนย์ประกันภัย และอีกหลายกิจการ
  • ปี 2537 ซื้อกิจการกลุ่มโรงแรมอิมพีเรียล ที่มีโรงแรมในเครือจำนวนมากจากนายอากร ฮุนตระกูล และจากนั้น “เจ้าสัวเจริญ” ก็ขยายธุรกิจอย่างไม่เคยหยุดยั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีทายาท 5 คน พร้อมสานต่อ คือ อาทินันท์ วัลลภา ฐาปน ฐาปนี และปณต ภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่เป็นเลื่องลือของ “เจ้าสัวเจริญ” คือ การซุ่มซ่อนยาวนาน สะสมทุน รอคอยโอกาส ที่สำคัญ “คุณธรรมน้ำมิตร” ที่ว่า “บุญคุณต้องทดแทน” ทำให้เส้นทางของ “เจ้าสัวเจริญ” ยังมีโอกาสอีกยาวไกล

ทำการเทคโอเวอร์หลายกิจการต่อเนื่อง

  • ปี 2549 การเทคโอเวอร์ โออิชิ กรุ๊ป (OISHI) ของ ตัน ภาสกรนที , 
  • ปี 2550 เทคหุ้นยูนิเวนเจอร์ (UV) ในปี 
  • ปี 2551 ตึกเนชั่น เมื่อปี 
  • ปี 2553 บริษัทเสริมสุข
  • ปี 2559 “เจ้าสัวเจริญ” ก็ได้เทคโอเวอร์ที่ฮือฮาและถูกพูดถึงเป็นข่าวใหญ่คือดีลบิ๊กซีที่ปิดไปเมื่อ 7 กุมภาที่ผ่านมา

ส่วนผลิตภัณฑ์ภายใต้กิจการของ “เจ้าสัวเจริญ” ที่พบเห็นกันบ่อยเป็นประจำประกอบด้วย โออิชิ (ทั้งร้านอาหาร และเครื่องดื่ม), เบียร์ช้าง , สุราแสงโสม, Blend285, แรงเยอร์, est, รวมถึงแลนด์มาร์คดังริมเจ้าพระยาอย่างเอเชียทีค ล้วนแล้วเป็นของเจ้าสัวที่ชื่อว่า เจริญ สิริวัฒนภักดี สุดสุด

ที่มา:http://th.wikipedia.org, http://zuzzuz.com/news/65, http://www.khonmuang.com/BB/viewtopic.php?t=559

รีแอคชั่นเป็นไงกันบ้าง?

เม้นกันเลย

https://www.zuzzuz.com/assets/images/user-avatar-s.jpg

0 comment

มาเม้นเป็นคนแรกกัน!